UFA Slot

สงสัยกันไหมทำไมนักกีฬาจึงเดินกันได้อิสระในพิธีปิดโอลิมปิก?

มหกรรมโอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปิดฉากลงไปแล้ว

ท่ามกลางความตื่นตาตื่นใจของผู้คนกับการแสดงและการส่งไม้ต่อให้กับเจ้าภาพครั้งต่อไปอย่างประเทศฝรั่งเศส ที่จะมีขึ้นที่กรุงปารีส ปี 2024แต่หากใครสังเกตจะพบว่าช่วงเวลาที่นักกีฬาแต่ละชาติเดินขบวนเข้าสู่สนามนั้น แตกต่างจากตอนพิธีเปิดอย่างชัดเจน ต่างคนต่างเดินเข้ามากันอย่างอิสระไม่เรียงแถวตามประเทศ ถ่ายรูป พูดคุย ทักทายกับนักกีฬาชาติอื่น ๆ อย่างไม่เป็นพิธีรีตรอง จนดูเหมือนไม่ค่อยเป็นระเบียบมากนัก

แต่แท้จริงแล้วการปล่อยให้นักกีฬาเดินเข้าสนามแบบนี้นั้นมีความหมายที่ลึกซึ้งมากกว่าภาพที่เห็น เรื่องนี้มีสตอรี่และมีที่มาที่ไปที่น่าประทับใจ โดยเกิดจากการส่งจดหมายนิรนามเพียงฉบับเดียวจากเด็กหนุ่มเชื้อสายจีนคนหนึ่ง ที่ต้องการจะเปลี่ยนมุมมองของโอลิมปิกเกมส์ให้ดีขึ้นเมื่อ 65 ปีที่แล้ว ก่อนจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันพิษสงคราม โอลิมปิกเกมส์ ถูกขนานนามว่า “มหกรรมกีฬาแห่งมิตรภาพ” ที่ตัวแทนจากทั่วโลกมาร่วมแข่งขันกันด้านกีฬา มีแพ้ มีชนะ มีการให้อภัย ทว่าหลายครั้ง เราจะเห็นเรื่องราวความขัดแย้งกันของนักกีฬาเกิดขึ้นในการแข่งขัน เพราะถึงแม้จะเป็นเกมกีฬาแต่มันก็คือการแข่งขันกันระหว่างชาติ โดยเฉพาะในช่วงที่ทั่วโลกกำลังเกิดสงครามด้วยแล้ว ย้อนกลับไปในโอลิมปิก 1956 ที่กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ถูกจัดขึ้นท่ามกลางเหตุการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ โดยหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1945 ทั่วทั้งโลกกำลังเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า “สงครามเย็น” ความตึงเครียดทางการเมืองแผ่กระจายไปทั่วโลก

UFA Slot

เมื่อสองมหาอำนาจแห่งฝ่ายสัมพันธมิตรอย่าง สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

หันมาเป็นศัตรูกันเอง จากความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่แตกต่างกัน แม้ทั้งสองชาตินี้จะไม่ปะทะกันโดยตรง แต่ทั้งคู่เลือกใช้วิธีสงครามตัวแทน สงครามเศรษฐกิจ และโฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ เป็นสมรภูมิรบ ไม่ว่าจะเป็น วิกฤตการณ์คลองสุเอซ, การรุกรานฮังการีของสหภาพโซเวียต, ความตึงเครียดระหว่างเยอรมนีตะวันออกและตะวันตก,

ตลอดจนข้อพิพาทระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับไต้หวัน จนลุกลามเข้ามาสู่วงการกีฬา ก่อนที่การแข่งขันโอลิมปิกจะเริ่มขึ้น เจ้าภาพต้องเผชิญกับการถูก “คว่ำบาตร” เมื่อหลายชาติได้ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกการจัดการแข่งขัน อียิปต์ อิรัก กัมพูชา และเลบานอน ประกาศว่าพวกเขาจะไม่เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อตอบโต้ต่อวิกฤตการณ์สุเอซ เมื่ออียิปต์ถูกรุกรานโดยอิสราเอล สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส เช่นเดียวกับ สวิตเซอร์แลนด์ สเปน และเนเธอร์แลนด์ ก็ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมเพื่อประท้วงการปราบปรามการจลาจลของกองทัพโซเวียตในฮังการี ขณะที่อีกหลายชาติสั่งไม่ให้นักกีฬาของตัวเองไปปะปนร่วมกับชาติอื่น ๆ ในหมู่บ้านนักกีฬา แม้สุดท้ายแล้วการแข่งขันจะสามารถจัดขึ้นได้ โดยมีตัวแทนเข้าร่วมชิงชัย 67 ชาติ ซึ่งน้อยลงจาก 4 ปี ก่อนเพียงแค่ 2 ชาติ แต่จำนวนนักกีฬาที่เข้าร่วมแข่งขันนั้นลดลงอย่างมากจาก 4,925 เป็น 3,342 คน แต่นั่นเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น โปโลเลือด เหตุความขัดแย้งทางการเมืองและสงคราม แม้จะอยู่ภายนอกสนาม แต่มันก็สามารถลุกลามเข้าสู่วงการกีฬาได้เช่นกัน

หากชาติที่ขัดแย้งกันต้องมาแข่งขันกันเองในเกมกีฬา เช่นเดียวกับ ฮังการี และ สหภาพโซเวียต หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฮังการีต้องตกไปอยู่ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ ทำให้นักศึกษาและประชาชนชาวฮังการีไม่พอใจ จึงได้ออกมาประท้วงพร้อมก่อจลาจลต่อต้านตามท้องถนนเป็นระยะเพื่อเรียกร้องอิสรภาพ

ติดตามบทความข่าวสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ silverpools.net

Releated